วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทความที่ 5

ทความส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นภเนตร ธรรมบวร อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
จากหนังสือ ๗๐ปีโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ



 ปัจจุบัน กระแสการพัฒนากระบวนการคิดในเด็กเล็กๆ กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีการกล่าวถึงพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ และการพยายามหารูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ให้มากที่สุด 

ความรู้ด้านพันธุกรรมของมนุษย์พิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด หรือเผ่าพันธุ์ใดมีความแตกต่างกับทางพันธุกรรมไม่ถึง 2 เปอร์เซ็นต์ แต่การที่มนุษย์มีความแตกต่างกันเป็นผลจากการบ่มเพาะและสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนรู้ที่ให้มนุษย์ได้เกิดการบ่มเพาะจึงเป็นหนึ่งที่สอดคล้องกับพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย 

การส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ถือเป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ และยังถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย 

การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทั้งนี้เพราะประสาทสัมผัสเปรียบเสมือนกับเสาอากาศ หรือตัวรับรู้สิ่งต่างๆ ของมนุษย์ ถ้าเครื่องรับมีประสิทธิภาพการเรียนรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ย่อมมีคุณภาพตามไปด้วย แต่ถ้าเครื่องรับขาดประสิทธิภาพในการรับรู้สิ่งต่างๆ หรือมีประสิทธิภาพไม่สูง ก็จะส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กมีคุณภาพต่ำ และการให้เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเพียงใดก็ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูจะต้องช่วยกันฝึกประสาทสัมผัส แก่เด็ก 

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พี่ๆ ประถม 4 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้มีโอกาสเรียนรู้การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับ ดร.ป๋อง หรือ ดร.เฉลิมพล เกิดมณี คุณครูนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค 

การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 เริ่มต้นง่ายๆ จากการที่เด็กๆ สัมผัสกับสิ่งของในถุงผ้า โดยเด็กๆ จะต้องพยายามใช้ประสาทสัมผัสที่ตนที่มีอยู่ในการเก็บข้อมูลของสิ่งที่เด็กๆไม่สามารถมองเห็นให้ได้รายละเอียดมากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เด็กๆ จะต้องจดบันทึกข้อมูลเป็นอย่างดี เพื่อนำไปสู่การตั้งสมมุติฐานว่า สิ่งของที่อยู่ในถุงดำนั้นเป็นอะไร และสื่อสารให้เพื่อนในกลุ่มอื่นเข้าใจได้ เด็กๆ แต่ละกลุ่มต่างช่วยกันลูบคลำ และจดบันทึกข้อมูลของ สิ่งของที่อยู่ในถุงดำว่ามีลักษณะอย่างไร เล็ก หรือใหญ่ ผิวเรียบ หรือผิวขรุขระ 

เมื่อเด็กๆ จดบันทึกข้อมูลตั้งสมมุติฐานพร้อมทั้งวาดภาพของผลไม้ในถุงดำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เด็กๆ ก็ได้มีโอกาสแกะถุงดำเพื่อดูว่า สมมุติฐานที่ตนตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ เด็กๆ หลายกลุ่มแสดงความดีใจเมื่อพบว่าสมมติฐานที่ตนตั้งไว้ถูกต้องขณะที่เด็กหลายคนพูดคุยถกเถียงกับเพื่อนในกลุ่มเกี่ยวกับข้อมูลที่ตนมี และสมมุติฐานที่ตนตั้งว่าเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริงอย่างไร 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการฝึกการแยกแยะโดยผ่านการดมกลิ่นผลไม้ชนิดต่างๆ กัน เช่น กลิ่นส้ม กลิ่นแอปเปิล กลิ่นกล้วย และกลิ่นผลไม้รวม หลังจากที่เด็ก ได้เรียนรู้วิธีดมกลิ่นที่ถูกต้องว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อประสาทรับกลิ่นของจมูกแล้ว ได้เรียนรู้วิธีดมกลิ่นที่ถูกต้องว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อประสาทรับกลิ่นของจมูกแล้ว เด็กๆ ต่างก็ผลัดกันดมกลิ่นของผลไม้ต่างๆ ที่ตนได้รับพร้อมทั้งบันทึกข้อมูล และตั้งสมมุติฐานไปด้วยในขณะเดียวกัน 

เมื่อถึงคราวที่ต้องพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มเกี่ยวกับสมมุติฐานที่แต่ละคนตั้งไว้ เด็กๆ พบว่าถึงแม้กลิ่นของผลไม้ที่ดมจะเป็นกลิ่นเดียวกัน แต่สมมุติฐานที่เด็กๆ ตั้งกลับมีความแตกต่างกันมาก ดังนั้นเด็กๆ จึงจำเป็นต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมโดยผ่านการตั้งคำถาม 

น้องนิวถามว่า “ผลไม้ที่นำมาให้ดมชนิดหนึ่งมีผลเป็นสีเหลืองใช่หรือไม่”

ต้นปาล์มว่า “ผลไม้ชนิดหนึ่งที่นำมาให้ดมมีผลสีเขียว หรือสีแดง และชื่อเป็นสองพยางค์ใช่หรือไม่”

เมื่อเด็กๆ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจนเป็นที่น่าพอใจแล้วก็นำมาสู่การคาดคะเน หรือการตั้งสมมุติฐานบนพื้นฐานของข้อมูลที่ชัดเจน และมีเหตุมีผลมากขึ้น 

หลังจากการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการสัมผัส และการดมกลิ่นผ่านพ้นไปแล้ว ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง นั่นคือการฝึกการสังเกต และตั้งคำถามผ่านรูปภาพที่คุณครูจัดเตรียมไว้ให้เด็กๆ จะต้องสังเกตภาพผลไม้และบันทึกคำถามหรือข้อสงสัยของตนให้ได้มากที่สุด และช่วยกันตัดสินใจเพื่อคัดเลือกคำถามที่น่าสนใจมากกลุ่มละ 1 คำถาม 

คำถามของเด็กๆ มีความหลากหลายมากตั้งแต่คำถามง่ายๆ ธรรมดาๆ สามารถหาคำตอบได้โดยผ่านวิธีการที่ไม่ซับซ้อน เช่น ในภาพมีผลไม้อะไรบ้าง มีผลไม้กี่ชนิด กล้วยมีความยาวเท่าไหร่ไปจนถึงคำถามที่สลับซับซ้อน หลายคำถามอาจจำเป็นต้องทำการทดลอง หรือสืบค้นข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ เช่น ทำไมผลไม้ถึงต้องวางซ้อนกัน ทำไมฟักทองถึงมีสีแดง และทำไมสตรอเบอร์รี่ถึงไม่มีเงา ขณะที่ผลไม้อื่นมีเงา เป็นต้น 

จะเห็นได้ว่าการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 แก่เด็กนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากเลย คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 แก่ลูกได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในครรภ์ โดยการใช้มือสัมผัสท้องของแม่เพื่อส่งความรู้สึกดีๆ ไปยังลูก 

หรือเมื่อลูกยังเล็ก การฝึกประสาทสัมผัสก็อาจเริ่มจากการหัดให้ลูกได้สังเกตสิ่งของรอบตัว หรือสิ่งที่ลูกสนใจ มีการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ลูกได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสให้มากขึ้น เช่น ส้มมีลักษณะพื้นผิวเป็นอย่างไร แตกต่างจากแอปเปิลหรือไม่ และถ้าแตกต่าง แตกต่างอย่างไร 

หรือการกระตุ้นให้ลูกได้สังเกตธรรมชาติรอบตัวโดยผ่านการใช้คำถามอย่างง่ายๆ อาทิ ก่อนฝนตกลูกสังเกตเห็นท้องฟ้าเป็นสีอะไร และหลังฝนตก ลูกเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างจากก่อนที่ฝนจะตก นอกจากนั้นการที่โอบกอดลูกก็ถือเป็นการฝึกประสาทสัมผัสที่หนึ่งด้วย 

                ประสาทสัมผัสถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการทางการคิดที่ดี และสามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ดีขึ้น และเมื่อเด็กๆ ได้รับการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 จนมีความชำนาญแล้วย่อมนำมาซึ่งทักษะการเก็บข้อมูล โดยผ่านการเปรียบเทียบความเหมือน และความแตกต่าง อันนำไปสู่การถามคำถาม หรือการตั้งปัญหาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างผู้นำทางความคิด

บทความที่ 4

สร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็ก ด้วยการปรับพฤติกรรมพ่อแม่

ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีข้อมูลต่างๆ เกิดขึ้นมากมายและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆการจะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกกลมๆ ใบนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่หากเราได้เรียนรู้ในทุกสิ่งที่เราต้องการก็ถือว่าประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว
ดังนั้นในการเรียนการสอนสำหรับเด็กยุคใหม่ จำเป็นต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้และสอนให้คิดเป็น 
เพื่อเด็กทุกคนจะรู้ว่าตนเองสนใจและต้องการสิ่งใดตามแต่ช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปของชีวิต และวิธีการสำคัญในการแสวงหาไม่ว่ายุคสมัยใดเริ่มต้นจาก "การอ่าน"
แต่ทว่าสภาพสังคมในยุคที่พ่อแม่มุ่งผลิตเม็ดเงินจนไม่มีเวลาให้กับลูก ซึ่งจากการศึกษาพบว่าพ่อแม่ที่อ่านนิทานให้ลูกฟังมีอัตราน้อยกว่าพ่อแม่ที่เปิดทีวีให้ลูกดู ทั้งที่การดูทีวีไม่ช่วยให้สมองเจริญเติบโตแถมยังอาจลดการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทบางตัวที่ไม่ได้ใช้ในระหว่างการดูทีวีด้วย
สถาบันสวัสดิการและพัฒนาการเด็ก มูลนิธิเด็ก ได้สำรวจสถานการณ์การอ่านของเด็กไทย จำนวน 2,626 คน จาก 165 โรงเรียน เมื่อปีการศึกษา 2544 พบว่า มีเด็กที่ไม่อ่านหนังสือทุกวัน 69.36% มีโรงเรียนที่ไม่สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมการอ่านได้ต่อเนื่อง 42.07% ส่วนครูที่รับผิดชอบงานห้องสมุดกว่า 91.03%ก็ไม่ได้จบวิชาบรรณารักษ์โดยตรง และกว่า 77.24%ก็ไม่เคยเข้าอบรมการจัดกิจกรรมห้องสมุดจากต้นสังกัดเลย
นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการสถาบันสวัสดิการและพัฒนาการเด็ก มูลนิธิเด็ก กล่าวว่าการที่โรงเรียนไม่สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการอ่านของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีสถานที่สำหรับจัดเป็นห้องสมุดผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของงานส่วนนี้ ครูที่ดูแลห้องสมุดต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันจึงไม่มีเวลาจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอ่านในโรงเรียนให้มีคุณภาพที่สำคัญขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณจัดซื้อหนังสือทำให้เด็กไทยขาดนิสัยรักการอ่าน ทั้งที่ต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ช่วงปฐมวัย
การปลูกฝังให้คนไทยรักการอ่านเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเร่งทำ ที่สำคัญต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
สมองมนุษย์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ดังนั้นการฝึกนิสัยรักการอ่านจึงจำเป็นต้องพัฒนากันตั้งแต่วัยทารก เท่ากับว่าครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการอ่าน ด้วยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและอบอวลด้วยบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่กระตุ้นเร้าให้เด็กสนใจ
อย่างไรก็ดี ยังมีพ่อแม่บางคนที่จ้องให้ลูกอ่านแต่ตำราเรียน ห้ามยุ่งเกี่ยวกับหนังสือประเภทบันเทิง นิทาน นิยาย วรรณกรรมจนเด็กเกิดความหวาดกลัวว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องไม่ควรทำซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในสิ่งรอบตัว และทำให้เด็กขาดการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ และรู้จักการเปรียบเทียบหนังสือหลากหลายประเภท ไม่สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ดีด้วยตัวเองได้
นอกจากนี้บทบาทของหนังสือสามารถมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิต ครอบครัวชุมชน และสังคม เช่น การหาความรู้เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพหรือนำมาเป็นอาชีพเสริมหารายได้เพิ่มเติม หรือเติมเต็มสำหรับเด็กที่ขาดความอบอุ่น โดยให้หนังสือเป็นเพื่อนสร้างจินตนาการ คลายเครียด ใช้ลดทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลบ เช่น หนังสือนิทาน
ที่จะนำไปสู่กิจกรรมที่เสริมสร้างความใกล้ชิดระหว่างครอบครัวได้เป็นอย่างดี
น.ส.พรเข็ม วิรุณราพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวว่า ยังมีเด็กอีกมากที่เมื่อหลุดจากระบบโรงเรียน ก็ไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับหนังสือ ทั้งเด็กในชุมชนแออัด เด็กเร่ร่อน ชนกลุ่มน้อย ไร้สัญชาติ ทั้งที่หนังสือจะเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาชีวิตให้อยู่รอดในสังคมปัจจุบัน ห้องสมุดจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างนิสัยรักการอ่านที่ดี โดยเฉพาะห้องสมุดเปิด ซึ่งควรมีการกระจายให้ครอบคลุมในทุกชุมชน
ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องมีอาคารใหญ่โต เปิดแอร์เย็นเฉียบ เงียบสงบละม้ายคล้ายห้องดับจิต เพราะนอกจากไม่สร้างบรรยากาศให้อยากอ่านแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และยิ่งเป็นห้องสมุดโรงเรียน หรือห้องสมุดสำหรับเด็กแล้วควรยกเลิกกฎเกณฑ์การงดใช้เสียง เพราะธรรมชาติของเด็ก อย่างไรก็อยู่นิ่งๆ เงียบๆไม่ได้
ซึ่งการบังคับจะยิ่งกดดันทำให้เด็กห่างจากห้องสมุด
ขณะเดียวกัน บรรณารักษ์ต้องมีส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น สนุกสนาน ผนวกกิจกรรมการเล่น เข้ากับจินตนาการตามข้อจำกัดของพื้นที่ ซึ่งหากเด็กเสียงดัง เราก็ต้องเสียงดังไปด้วย เข้ากับเด็กให้ได้รวมถึงต้องกระตุ้นให้ผู้ปกครองเข้ามานั่งอ่านหนังสือเพื่อนำไปถ่ายทอดสู่ลูกหลานด้วย ที่สำคัญโรงเรียนต้องเลิกมองงานห้องสมุดและการส่งเสริมพฤติกรรมการอ่านของเด็ก เป็นงานฝากอีกต่อไป
"การหิวหนังสือเราบอกไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ความรู้สึกจะต่างจากการหิวเพราะขาดอาหาร แต่หากเรายังต้องการให้คนรุ่นใหม่ รู้จักคิด วิเคราะห์ พัฒนาและนำพาประเทศไปสู่ความเจริญรุดหน้า ก็ต้องให้เด็กได้สัมผัสและเรียนรู้การใช้หนังสือที่มีอยู่ในมือให้เป็นประโยชน์" น.ส.พรเข็ม กล่าวในที่สุด

บทความที่ 3

สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง


วัสดุที่เด็กนำมาเล่นแล้วได้รับความสุข ได้ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้ เป็นตัวกลางที่ทำให้เด็กเกิดความรู้จากการได้สัมผัส ได้ลงมือปฏิบัติช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง

สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
•เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวสาระความรู้จากครูสู่เด็ก
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเข้าใจเรื่องยากๆด้วยความง่ายดาย
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง

สาเหตุที่ครูต้องใช้สื่อการสอน
•1. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่เป็นจริง
•2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนถึงสิ่งที่มีปัญหา เกี่ยวกับขนาด กาลเวลา และระยะทาง
•3. ช่วยเร้าและกระตุ้นความสนใจ ทัศนคติที่ดีของผู้เรียน ช่วยให้เรียนได้ง่าย รวดเร็ว และเพลิดเพลิน
•4. ช่วยแสดงกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยพูด
•5. สร้างโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
•6. ช่วยให้เรียนได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง
•7. ช่วยให้มีความทรงจำต่อสิ่งที่เรียนได้นาน และนำไปใช้ได้ดีกว่า

คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อการสอนจัดองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในระบบการเรียนการสอนหรือระบบการศึกษา ในที่นี้จะพิจารณาเกี่ยวกับประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนออกโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
-  คุณค่าที่มีต่อผู้เรียน
-  คุณค่าที่มีต่อผู้สอน

1.คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน
1.1 ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
ช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเนื้อหาของบทเรียน ที่ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน เพราะอาจนับได้ว่า ความสนใจเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียนในที่สุด
1.2 ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเช่น การใช้ภาพวาดการใช้หุ่นจำลอง เป็นต้น
1.3 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ การใช้สื่อการสอนจะช่วยลดอุปสรรคหรือแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.4 ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
สื่อการสอนที่ถูกออกแบบมาให้ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน ช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ช่วยให้บรรยากาศของการเรียนการสอนมีชีวิตชีวา
1.5 ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
การสอนหน่วยที่มีข้อจำกัด เช่น เนื้อหาที่มีความอันตราย เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ในอดีต เนื้อหามีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้น การใช้สื่อการสอนจะช่วยขจัดปัญหาในการสอนเนื้อหาที่มีข้อจำกัดดังที่ได้กล่าวไปแล้วได้
1.6 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
สื่อการสอนที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี ต้องเป็นสื่อการสอนที่สามารถกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนทำการเรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น โดยให้ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน โดยควรเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิดหรือกิจกรรมทางสมอง
1.7ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
การใช้สื่อการสอน จะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในห้องเรียนให้แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นประจำในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน


2. คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอน
2.1 ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมการสอนหรือเนื้อหาการสอน
ผู้สอนไม่ต้องจดจำเนื้อหาบทเรียนทั้งหมดเพื่อนำมาบรรยายด้วยตนเอง เพราะรายละเอียดของเนื้อหา บทเรียนส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน ในกรณีที่ต้องสอนซ้ำในเนื้อหาเดิม ก็สามารถนำสื่อการสอนที่เคยใช้สอนกลับมาใช้ได้อีก
2.2 ช่วยสร้างบรรยากาศในการสอนให้น่าสนใจ
การใช้สื่อการสอนจะช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความน่าสนใจขึ้นมาได้
2.3 ช่วยสร้างความมั่นใจในการสอนให้แก่ผู้สอน
การใช้สื่อการสอนจะช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะเนื้อหาเหล่านั้นสามารถที่จะบันทึกไว้ได้ในสื่อการสอน
2.4 กระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ
ในขั้นการเตรียมผลิตสื่อการสอน การเลือกสื่อการสอน หรือการจัดหาสื่อการสอน ตลอดจนการแสวงหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการสอน จะทำให้ผู้สอนเป็นผู้มีความตื่นตัว และมีการพิจารณาเพื่อทำให้การสอนบรรลุวัตถุประสงค์

คุณค่าของสื่อการสอนยังจำแนกเป็นรายด้านได้ 3 ข้อ 
คือ       1. คุณค่าด้านวิชาการ
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา

1. คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่า
1.3ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
1.4 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มาก
1.5 ช่วยเร่งในการเรียนรู้ ทักษะ ทุกด้าน
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
สื่อการสอนระดับปฐมวัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 
1.      ประเภทวัสดุ
หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สไลด์ เป็นต้น
2.      ประเภทอุปกรณ์
หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ เครื่องเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง เครื่องฉาย กระดานดำ ม้าหมุน กระดานหก เป็นต้น
3.      ประเภทวิธีการ
ได้แก่ การสาธิต การทดลอง เกม กิจกรรมต่างๆ การเล่นบทบาทสมมติ การจัดสถานการณ์จำลอง การจัดศูนย์การเรียน เป็นต้น

          แม้ว่าสื่อทั้งสามประเภทจะเป็นสื่อการสอนที่ช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะ ที่ครูมีไปสู่นักเรียนได้ แต่การจะใช้สื่อเหล่านี้กับเด็กปฐมวัยให้ได้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ยังขึ้นอยู่กับลักษณะและชนิดของสื่อที่ครูต้องรู้จักเลือกให้เหมะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระของการสอน ที่สำคัญที่สุด ก็คือ ต้องให้เหมะกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย

บทความที่ 2

สื่อและเครื่องเล่นของเด็กปฐมวัยมีลักษณะอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว เด็กปฐมวัย มักได้รับแรงดึงดูดจากรายการโทรทัศน์ที่สอดแทรกภาพสีสดใส ตัวละครที่เคลื่อนไหว เคลื่อนอิริยาบถไปมา รวมถึงเสียงเพลงหรือดนตรีประกอบที่ร่าความสดใจ สื่อของเล่นจึงมักได้รับอิทธิผลจากรายการโทรทัศน์ที่มีการดัดแปลงเอาตัวการ์ตูนดังๆมาเป็นสื่อของเล่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เกิดความทันสมัย แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงการสร้างสรรค์จินตนาการโดยเหมาะสมแก่เด็ก หรือมีการกำหนดสาระเนื้อหาของสื่อ ที่เป็นเกมต่างๆ โดยสอดแทรก ความรุนแรง การต่อสู้ ซึ่งอาจบ่มฟัก ความก้าวร้าวหรือแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กได้ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจแก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ในลักษณะและประเภทของสื่อ และเครื่องเล่นที่มีคุณภาพเหมาะสมของเด็กปฐมวัย ที่จัดหมวดหมู่ได้ดังนี้ สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ บล็อก รถ เครื่องบิน เครื่องปีนป่าย จักรยาน รถสามล้อเล็ก และอุป กรณ์งานไม้ สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ ดินน้ำมัน อุปกรณ์วาดรูป ระบายสีน้ำ เช่นพิมพ์ภาพ หยดสี สลัดสี เป่าสี เล่นกับสีเมจิก สีชอล์ค ร้อยเชือก ตัวต่อเลโก้ บล็อกชุดเล็ก เกมต่อภาพ สื่อและเครื่องเล่นพัฒนาภาษาและการสื่อสาร ได้แก่ หนังสือนิทาน กระดาษและเครื่องเขียน กระดานไว้ท์บอร์ด แป้นพิมพ์ กระบะทราย หุ่นและตุ๊กตา
สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ อุปกรณ์เล่นน้ำ อุปกรณ์เล่นทราย อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องชั่ง ตวง วัด จุดบีบหยดยา กรงสัตว์ ตู้ปลา วัสดุธรรมชาติ เช่นใบไม้ รังนก ขนนก เปลือกไม้ สื่อและเครื่องเล่นสมัยใหม่ ผลผลิตของเทคโนโลยีจำนวนหนึ่ง เป็นเครื่องมือทางการสื่อสารที่คืบคลานเข้ามาสู่สัง คมมนุษย์อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เด็กปฐมวัยต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ ซึ่งสร้างความสะดวกสบาย และกลาย เป็นปัจจัยหลักของการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน สร้างความบันเทิงแก่สมาชิกครอบครัว และช่วยให้การจัดการเรียนรู้มีความท้าทายยิ่งขึ้น พ่อแม่ และครูผู้สอน จึงต้องเรียนรู้ร่วมไปกับยุคสมัยและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น หันมาให้ความสำคัญและเลือกใช้ประโยชน์จากสื่อสมัยใหม่ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น เปลี่ยนจากการใช้สั่งพิมพ์เป็นสื่อเป็น e-book ซีดี และซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เพราะสิ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็กในโลกปัจจุบัน เด็กในสังคมสมัยใหม่ มีโอกาสใช้สื่อไอ.ที. เพิ่มขึ้น เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอเป็นเวลาวันละหลายชั่วโมงต่อวัน ทั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แทบเล็ต ด้วยเหตุที่สื่อสมัยใหม่เหล่านี้ สามารถจับต้องได้ ตอบสนอง โต้ตอบ และเลือกได้ อีกทั้งหน้าจอที่เป็นแบบมัลติทัชหรือทัชสกรีน ยังมีความไวสูง การตอบสนองทันต่อความต้องการของเด็ก ท้าทายความสนใจและใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ หากผู้ใหญ่ให้การชี้แนะที่เหมาะสม ย่อมเกิดประโยชน์ แต่ในทางตรงข้ามหากปล่อยไปโดยอิสระ ย่อมเกิดความเสียหาย และขัดขวางการพัฒนาเด็กได้เช่นกัน พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกสื่อและเครื่องเล่นของเด็กปฐมวัยได้อย่างไร?
พ่อแม่ ผู้ปกครองจำเป็นต้องเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก โดยใช้สื่อเครื่องเล่นสมัยใหม่ โดยมีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้ ร่วมรับข้อมูลและใช้สื่อไปกับเด็ก ซักถามเด็กเกี่ยวกับความเข้าใจในหนังสือที่เด็กอ่าน รายการที่เด็กรับชม และซอฟแวร์ที่เด็กใช้ในการเรียนรู้ ด้วยการใช้คำถาม อะไร อย่างไร มีลำดับเหตุกรณีอย่างไร มีตัวละครที่ดีและไม่ดีอย่างไร เรื่องจบลงอย่างไร แนะนำให้เด็ก จัดทำสมุดสะสมภาพจากการถ่าย ภาพที่ค้นหาจากระบบออนไลน์ ปริ้นท์จากคอมพิวเตอร์ เช่นจัดหมวดหมู่ภาพสมาชิกครอบครัว ภาพตัวการ์ตูน เขียนบรรยายภาพ จัดลำดับภาพตามช่วงเวลา การเติบโต การพัฒนา ตามลำ ดับก่อนหลัง และเขียนแสดงความคิดสั้นๆประกอบภาพ ตกแต่งภาพ จัดวาดภาพในตำแหน่งต่างๆ สร้างมิติใหม่ๆ กับการจัดภาพตามความคิดของตน ให้เด็กจัดทำนิทานจากความคิด พูดบอกเรื่องราว พูดอธิบายตัวละคร จัดวางภาพ และอากัปกิริยาของตัวละคร ใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ สร้างชิ้นงานร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ใช้โปรแกรมที่ดาวน์โหลด จัดภาพ สเก็ตช์ภาพ อัดวีดีโอการทำงานและการทำกิจกรรมของเด็ก เพื่อนำมาเปิดให้ชมพร้อมกับให้แสดงความคิดเห็น ให้เด็กฝึกส่งข้อความ ส่งอีเมล์ ส่งไลน์ หรือข้อความถึงสมาชิกครอบครัว หรือเพื่อน หรือครู พิมพ์ข้อความโดยพ่อแม่ช่วยเหลือ สอนถึงการขึ้นต้นและลงท้ายข้อความ แนบรูปถ่ายไปกับข้อความ ตามความต้องการของเด็กแต่ละคน เกร็ดความรู้เพื่อครู
ในยุคสมัยปัจจุบัน สื่อสมัยใหม่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่ผู้ใหญ่จำเป็นต้องหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อพิจารณา คัดสรร และเปิดโอกาสให้แก่การนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาทักษะของเด็ก สอนให้เด็กรู้จักการเลือกใช้ และการไม่ใช้อย่างเหมาะสม สื่อสมัยใหม่ไม่ได้มีลักษณะเหมือนโจทย์คณิตศาสตร์ ที่หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง หรือไม่ได้มีลักษณะของสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่มีผลลัพธ์พิสูจน์ได้ชัดเจน สมัยใหม่ เป็นสิ่งที่เด็กต้องทำความเข้าใจกับภาษา สัญลักษณ์ ทำความเข้าใจและการสร้างความหมาย เด็กจะต้องจัดกระทำกับภาษา สัญลักษณ์ คิดใคร่ครวญก่อนการดำเนินการให้ตอบด้วยระบบสัมผัส เพื่อสื่อความหมายในเรื่องเดียวกัน ในแต่ละหมวดหมู่ของการทำงานบนระบบสัมผัส ผู้ ใหญ่จำเป็นต้องรู้ทัน ทำความเข้าใจ สร้างทักษะและสอนทักษะแก่เด็ก ให้ใช้เครื่องเล่นสมัยใหม่ด้วยการคิดตั้งคำถาม กระ ตุ้นการคิด เช่น อะไร เพราะอะไร ดีหรือเหมาะสมอย่างไร เพื่อให้การใช้สื่อสมัยใหม่มีคุณค่าต่อการสร้างคนสำหรับศตวรรษใหม่ ได้อย่างคุ้มค่า คุ้มประโยชน์ ควบคู่ไปกับการหาความบันเทิงอย่างเดียว

บทความที่ 1

สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนพัฒนาเด็กได้มากกว่าที่คิด

โดย: ดร. สิทธิพร เอี่ยมเสน
รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


เพียงแค่ธรรมชาติที่อยู่รอบๆบ้านเรา 
ก็มีสิ่งยั่วยวนใจให้เด็กได้เรียนรู้มากเหลือเกิน 
ใบไม้ใบหญ้าที่แกว่งไกวหรือหลุดปลิวไปเพราะแรงลม 
การสร้างบ้านที่อยู่อาศัยของมด กลุ่มชีวิตที่อยู่ใต้พื้นดิน 
สำหรับเด็กๆ แล้ว สนามธรรมชาติรอบล้อมบ้าน 
เป็นโลกแห่งกิจกรรม เป็นบทเรียนวิทยาศาสตร์ 
บทเรียนวิชาฟิสิกส์ และวิชาธรรมชาติและสีสัน 
(Hirsh-Pasek and Golinkoff, 2003)

ในตอนวัยเด็ก นอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียน และช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ แล้ว พวกเราเด็กๆ ก็มักจะมีเวลาว่างมากเพียงพอที่จะสำรวจธรรมชาติที่อยู่รอบๆ บ้าน หรือบริเวณหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ ทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่าหญ้าคา และ อื่นๆ เราสนุกสนานกับการที่ได้ปีนป่ายต้นไม้ใหญ่ นั่งเล่นอยู่บนต้นไม้นั้นเป็นเวลานานๆ ได้เห็นความเป็นอยู่ของเหล่านกใหญ่น้อยทั้งหลาย ที่อาศัยกิ่งก้านสาขาของไม้ใหญ่นี้เป็นที่กำบังจากภัยต่างๆ บ้างก็สร้างรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่นี้ หลายครั้งที่พวกเราก็แกล้งมัน พอพวกเราส่งเสียงดัง หรือขว้างปาวัตถุเข้าไปใส่ต้นไม้ ฝูงนกก็แตกฮือบินหนีไปคนละทิศคนละทางด้วยความตกใจ แต่พวกเรากลับหัวเราะอย่างสนุกสนาน บางครั้งเราก็ปีนต้นไม้เพื่อที่จะไปให้ถึงรังของนก เราอยากจะเห็นบ้านที่อยู่ของนก อยากจะเห็นไข่ หรือลูกเล็กๆ ของมัน ในขณะที่เราใกล้จะถึง เราจะได้ยินเสียงพ่อ แม่ของลูกนกส่งเสียงร้องอย่างดัง ราวกับจะบอกให้เรารู้ว่า อย่าเข้าใกล้หรือทำอันตรายสิ่งที่เขารักและห่วงแหนมากที่สุด

ในทุ่งนาที่เราเดินหรือบางครั้งก็วิ่งผ่าน เราก็จะเห็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลากหลายชนิด เช่น หนู มด บางครั้งเราก็เห็น คราบของงู เรามองเห็นการทำงานของมด เห็นการหาอาหารของบรรดาแมลงต่าง ๆ เห็นผีเสื้อ แมลงตัวเล็ก และ ผึ้ง ที่มาดอมดมน้ำหวานในดอกไม้ บางครั้งเราก็ไปเด็ดดอกไม้เหล่านั้น เพื่อเปิดหาน้ำหวานในดอกไม้นั้น พวกเราก็พบว่า ในดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เราเด็ดมามีน้ำหวานอยู่จริง พวกเราสนุกสนานกับการได้ลิ้มรสความหวานของน้ำใสๆ ในดอกไม้นั้น ตัวผมเองไม่เคยสงสัย แต่กลับรู้สึกคุ้นเคย เวลาคุณครูวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอธิบายถึงส่วนประกอบของดอกไม้ หรือการขยายพันธุ์ของต้นไม้ หรือในข้อสอบที่ถามถึงรั้วกินได้ และประโยชน์หรือลักษณะการใช้งานของเครื่องมือที่ใช้ในการทำสวนครัว ผมได้เรียนแล้วผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้ากับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

เวลาที่ผมวิ่งไปหาพ่อแม่ ที่เกี่ยวข้าวอยู่กลางทุ่ง พ่อก็จะใช้เคียวที่พ่อใช้เกี่ยวข้าว ตัดต้นข้าว แล้วทำเป็นปี่ผมเป่าเล่น พวกเราเด็ก ๆ ก็เป่าให้มีเสียงดังต่างๆ กันเป็นที่สนุกสนาน ผมไห้พ่อเจาะรูเพิ่มเพื่อให้ปี่ต้นข้าวของผมทำได้มากกว่าหนึ่งเสียง และแกล้งทำเป็นว่าเรากำลังบรรเลงดนตรีที่แสนไพเราะ ด้วยเครื่องดนตรีสากลที่เรียกว่า คาริเน็ต เราได้เรียนรู้อะไรต่อมิอะไรมากมาย เราได้พัฒนาส่วนต่างๆ ของร่างกาย พัฒนาจิตใจ อารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และการได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เรียนรู้วัฒนธรรมของบุคคลและสังคม ได้สื่อสารโดยกระบวนการของภาษา โดยที่ไม่มีทฤษฎีการเรียนรู้ได ๆ มาบอกเรา หรือบอกพ่อแม่ของเราเลย

สิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้ประโยชน์อย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก

เมื่อพิจารณาถึงผลระยะยาวที่มีต่อเด็ก ทางด้านสุขภาพทางอารมณ์ที่ดี สุขภาพกายที่ดี
ความสามารถในการเรียน และความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมแล้ว
เราไม่ควรที่จะให้เด็กใช้เวลาส่วนมากอยู่แต่ในห้องเรียนหรือในบ้าน
เด็กจะมีพัฒนาการในทุก ๆ ด้านเพียงขอให้เราสนับสนุนให้เด็กได้มีเวลาให้กับธรรมชาติ
(Green Hours) ให้มากในแต่ละวัน (Washington Post, June, 2007)

นักการศึกษาและนักวิจัยที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเด็ก และพัฒนาการของเด็กได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับสื่อที่อยู่ล้อมรอบตัวเด็ก อันได้แก่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Stephen Kellert, 2005 in Children&Nature Network, 2008) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Yale ได้กล่าวว่า การที่สภาพแวดล้อมของบ้านที่เป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จะส่งผลที่ดีกับเด็กในการพัฒนาสมอง ความคิด รวมถึง การพัฒนาศักยภาพในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล ซึ่งเป็นการพัฒนาการของสมองขั้นสูง นอกจากนี้ ในบทความเดียวกัน ยังเพิ่มเติมถึงประโยชน์ของการที่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอีกด้วยว่า เด็กๆ จะมีร่างกายที่สมบูรณ์ และกระตือรือร้น ไม่เป็นโรคอ้วน ซึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

ในส่วนของการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก วิธี การสอนแบบเก่าที่เรียกว่า Chalk – and – Talk ได้ถูกลืมเลือนไปในภาคส่วนการศึกษา ครูในยุคปัจจุบัน ได้รับการเสริมสร้างให้มีความรู้ในเรื่องสื่อนวัตกรรมการสอนที่ส่งผลโดยตรงให้ กระบวนการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ( Singh, 2007) แต่เมื่อพูดถึงสื่อนวัตกรรมการสอน คนโดยทั่วไปมักเข้าใจว่า หมายถึง เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Information Communication Technologies (ICT)) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนในประเทศที่ได้รับการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนา กลับมาให้ความสนใจในนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีต้นทุนต่ำ (Low-Cost Teaching Aids) หรือไม่ต้องลงทุนและหาได้ในท้องถิ่น สื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนเหล่านี้ ผลิตได้อย่างง่ายๆ จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น หรือ หยิบใช้ได้โดยตรงจากธรรมชาติรอบๆ ตัว และยังทำให้เป็นโรงเรียนที่พึ่งตนเองได้ ลดค่าใช้จ่ายทางด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน การเลือกสรร การให้ความสนใจกับชุมชนและการนำธรรมชาติไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน จะทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความหลากหลาย ความน่าสนใจ และเกิดผลประโยชน์สูงสุดกับโรงเรียนในท้องถิ่นนั้นๆ 

ต้นกล้วยน้ำหว้าต้นหนึ่ง ไม่ใช่ให้เพียงผลกล้วยที่มีคุณค่าทางโภชนาการกับทุกคนเท่านั้น
การเกิด เจริญเติบโต ให้ผล และตายไปของต้นกล้วยต้นหนึ่ง 
ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วงจรชีวิตของมัน เด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต 
เรียนรู้การเปลี่ยนแปลง จดบันทึก เรียนรู้ที่จะรักธรรมชาติ 
เด็กบางคนนำก้านกล้วยมาประดิษฐ์เป็นม้าก้านกล้วย วิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน 
เรือใบที่ได้รับการสร้างสรรค์จากกาบกล้วย ถึงแม้จะดูไม่มีมาตรฐานนัก 
แต่ก็ให้ความสุขในจิตใจของเด็กๆ เหล่านั้น 
ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์และจิตใจ ได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กับร่างกาย
โดยที่ตัวเด็กๆ เอง อาจจะไม่ได้คิดถึงสิ่งดีๆเหล่านี้ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเองด้วยซ้ำไป

ธรรมชาติล้อมรอบตัวเด็กนั้น จัดได้ว่าเป็นการขยายห้องเรียนให้กับนักเรียนของเรา นักเรียนจะได้มีโอกาสเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสในทุกๆ ด้าน และครอบคลุมทุกๆ แขนงของหลักสูตร ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็ก ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ล้วนเป็นบทเรียนและแบบฝึกหัดที่มีประโยชน์โดยตรงต่อทั้งตัวเด็ก และครูผู้สอน (http://www.workingwithwildlife.co.uk/learning/default.asp) เด็กนักเรียนในระดับปฐมวัยสามารถใช้เวลานอกห้องเรียนในการเรียนรู้ธรรมชาติในโรงเรียนและชุมชน ได้ถึง ๑ ใน ๔ ของเวลาที่ต้องใช้ที่โรงเรียน นอกจากนักเรียนจะได้ความรู้จากหลากหลายกิจกรรมที่ครูสามารถให้นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมแล้ว กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้สึกรัก รับผิดชอบและเป็นเจ้าของธรรมชาตินั้นๆ เป็นการพัฒนาในระดับปัจเจกบุคคล ที่มีผลต่อการพัฒนาในระดับชุมชน ระดับชาติ และระดับโลก ต่อไป และยังส่งผลในเรื่องสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนอีกด้วย เด็กได้พัฒนาและเรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีพของตนเองไปตลอดชีวิต (Life-Long Skills) เช่น การปลูกและทำนุบำรุงรักษาต้นไม้ การปลูกดอกไม้ ผัก และผลไม้ต่าง ๆ เด็กได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม ใช้ภาษาที่เหมาะสมในการสื่อสารกับสมาชิกในกลุ่ม พัฒนาความเชื่อมั่น และความศรัทธาในตนเอง

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 18 พศจิกายน 2557



ดูตัวอย่างสื่อเกมการศึกษา
แบ่งกลุ่มทำสื่อการศึกษา

ความรู้ที่ได้รับ

          รู้จักสื่อเกมการศึกษามากขึ้น
         รู้ประโยชน์ของการทำสื่อว่าควรทำแบบไหนให้เกิดประโยขน์มากที่สุดและมีประโยขน์ต่อผู้เรียนสูงสุด

  .ได้ลงมือทำสื่อด้วยตัวเองและเรียนรู้ขั้นตอนการทำมากขึ้น

ผลงานที่ทำสำเร็จ เย้ๆๆๆ

ตัวอย่าง เกมการศึกษา

บันทึกเข้าเรียนวันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ

จัดนิทรรศการสื่อเด็กปฐมวัยที่ ตึก2 โดยคุนครูได้ให้นักศึกษจัดโชว์ผลงานที่ทำมาทั้งเทอมนำมาเเสดง 

สื่อประดิษฐ์ต่างของเพื่อนๆ



บรรยากาศภายในงาน
คุณครูอธิบายงานนิทรรศการครั้งนี้