วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทความที่ 2

สื่อและเครื่องเล่นของเด็กปฐมวัยมีลักษณะอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว เด็กปฐมวัย มักได้รับแรงดึงดูดจากรายการโทรทัศน์ที่สอดแทรกภาพสีสดใส ตัวละครที่เคลื่อนไหว เคลื่อนอิริยาบถไปมา รวมถึงเสียงเพลงหรือดนตรีประกอบที่ร่าความสดใจ สื่อของเล่นจึงมักได้รับอิทธิผลจากรายการโทรทัศน์ที่มีการดัดแปลงเอาตัวการ์ตูนดังๆมาเป็นสื่อของเล่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เกิดความทันสมัย แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงการสร้างสรรค์จินตนาการโดยเหมาะสมแก่เด็ก หรือมีการกำหนดสาระเนื้อหาของสื่อ ที่เป็นเกมต่างๆ โดยสอดแทรก ความรุนแรง การต่อสู้ ซึ่งอาจบ่มฟัก ความก้าวร้าวหรือแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กได้ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจแก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ในลักษณะและประเภทของสื่อ และเครื่องเล่นที่มีคุณภาพเหมาะสมของเด็กปฐมวัย ที่จัดหมวดหมู่ได้ดังนี้ สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ บล็อก รถ เครื่องบิน เครื่องปีนป่าย จักรยาน รถสามล้อเล็ก และอุป กรณ์งานไม้ สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ ดินน้ำมัน อุปกรณ์วาดรูป ระบายสีน้ำ เช่นพิมพ์ภาพ หยดสี สลัดสี เป่าสี เล่นกับสีเมจิก สีชอล์ค ร้อยเชือก ตัวต่อเลโก้ บล็อกชุดเล็ก เกมต่อภาพ สื่อและเครื่องเล่นพัฒนาภาษาและการสื่อสาร ได้แก่ หนังสือนิทาน กระดาษและเครื่องเขียน กระดานไว้ท์บอร์ด แป้นพิมพ์ กระบะทราย หุ่นและตุ๊กตา
สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ อุปกรณ์เล่นน้ำ อุปกรณ์เล่นทราย อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องชั่ง ตวง วัด จุดบีบหยดยา กรงสัตว์ ตู้ปลา วัสดุธรรมชาติ เช่นใบไม้ รังนก ขนนก เปลือกไม้ สื่อและเครื่องเล่นสมัยใหม่ ผลผลิตของเทคโนโลยีจำนวนหนึ่ง เป็นเครื่องมือทางการสื่อสารที่คืบคลานเข้ามาสู่สัง คมมนุษย์อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เด็กปฐมวัยต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ ซึ่งสร้างความสะดวกสบาย และกลาย เป็นปัจจัยหลักของการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน สร้างความบันเทิงแก่สมาชิกครอบครัว และช่วยให้การจัดการเรียนรู้มีความท้าทายยิ่งขึ้น พ่อแม่ และครูผู้สอน จึงต้องเรียนรู้ร่วมไปกับยุคสมัยและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น หันมาให้ความสำคัญและเลือกใช้ประโยชน์จากสื่อสมัยใหม่ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น เปลี่ยนจากการใช้สั่งพิมพ์เป็นสื่อเป็น e-book ซีดี และซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เพราะสิ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็กในโลกปัจจุบัน เด็กในสังคมสมัยใหม่ มีโอกาสใช้สื่อไอ.ที. เพิ่มขึ้น เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอเป็นเวลาวันละหลายชั่วโมงต่อวัน ทั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แทบเล็ต ด้วยเหตุที่สื่อสมัยใหม่เหล่านี้ สามารถจับต้องได้ ตอบสนอง โต้ตอบ และเลือกได้ อีกทั้งหน้าจอที่เป็นแบบมัลติทัชหรือทัชสกรีน ยังมีความไวสูง การตอบสนองทันต่อความต้องการของเด็ก ท้าทายความสนใจและใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ หากผู้ใหญ่ให้การชี้แนะที่เหมาะสม ย่อมเกิดประโยชน์ แต่ในทางตรงข้ามหากปล่อยไปโดยอิสระ ย่อมเกิดความเสียหาย และขัดขวางการพัฒนาเด็กได้เช่นกัน พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกสื่อและเครื่องเล่นของเด็กปฐมวัยได้อย่างไร?
พ่อแม่ ผู้ปกครองจำเป็นต้องเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก โดยใช้สื่อเครื่องเล่นสมัยใหม่ โดยมีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้ ร่วมรับข้อมูลและใช้สื่อไปกับเด็ก ซักถามเด็กเกี่ยวกับความเข้าใจในหนังสือที่เด็กอ่าน รายการที่เด็กรับชม และซอฟแวร์ที่เด็กใช้ในการเรียนรู้ ด้วยการใช้คำถาม อะไร อย่างไร มีลำดับเหตุกรณีอย่างไร มีตัวละครที่ดีและไม่ดีอย่างไร เรื่องจบลงอย่างไร แนะนำให้เด็ก จัดทำสมุดสะสมภาพจากการถ่าย ภาพที่ค้นหาจากระบบออนไลน์ ปริ้นท์จากคอมพิวเตอร์ เช่นจัดหมวดหมู่ภาพสมาชิกครอบครัว ภาพตัวการ์ตูน เขียนบรรยายภาพ จัดลำดับภาพตามช่วงเวลา การเติบโต การพัฒนา ตามลำ ดับก่อนหลัง และเขียนแสดงความคิดสั้นๆประกอบภาพ ตกแต่งภาพ จัดวาดภาพในตำแหน่งต่างๆ สร้างมิติใหม่ๆ กับการจัดภาพตามความคิดของตน ให้เด็กจัดทำนิทานจากความคิด พูดบอกเรื่องราว พูดอธิบายตัวละคร จัดวางภาพ และอากัปกิริยาของตัวละคร ใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ สร้างชิ้นงานร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ใช้โปรแกรมที่ดาวน์โหลด จัดภาพ สเก็ตช์ภาพ อัดวีดีโอการทำงานและการทำกิจกรรมของเด็ก เพื่อนำมาเปิดให้ชมพร้อมกับให้แสดงความคิดเห็น ให้เด็กฝึกส่งข้อความ ส่งอีเมล์ ส่งไลน์ หรือข้อความถึงสมาชิกครอบครัว หรือเพื่อน หรือครู พิมพ์ข้อความโดยพ่อแม่ช่วยเหลือ สอนถึงการขึ้นต้นและลงท้ายข้อความ แนบรูปถ่ายไปกับข้อความ ตามความต้องการของเด็กแต่ละคน เกร็ดความรู้เพื่อครู
ในยุคสมัยปัจจุบัน สื่อสมัยใหม่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่ผู้ใหญ่จำเป็นต้องหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อพิจารณา คัดสรร และเปิดโอกาสให้แก่การนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาทักษะของเด็ก สอนให้เด็กรู้จักการเลือกใช้ และการไม่ใช้อย่างเหมาะสม สื่อสมัยใหม่ไม่ได้มีลักษณะเหมือนโจทย์คณิตศาสตร์ ที่หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง หรือไม่ได้มีลักษณะของสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่มีผลลัพธ์พิสูจน์ได้ชัดเจน สมัยใหม่ เป็นสิ่งที่เด็กต้องทำความเข้าใจกับภาษา สัญลักษณ์ ทำความเข้าใจและการสร้างความหมาย เด็กจะต้องจัดกระทำกับภาษา สัญลักษณ์ คิดใคร่ครวญก่อนการดำเนินการให้ตอบด้วยระบบสัมผัส เพื่อสื่อความหมายในเรื่องเดียวกัน ในแต่ละหมวดหมู่ของการทำงานบนระบบสัมผัส ผู้ ใหญ่จำเป็นต้องรู้ทัน ทำความเข้าใจ สร้างทักษะและสอนทักษะแก่เด็ก ให้ใช้เครื่องเล่นสมัยใหม่ด้วยการคิดตั้งคำถาม กระ ตุ้นการคิด เช่น อะไร เพราะอะไร ดีหรือเหมาะสมอย่างไร เพื่อให้การใช้สื่อสมัยใหม่มีคุณค่าต่อการสร้างคนสำหรับศตวรรษใหม่ ได้อย่างคุ้มค่า คุ้มประโยชน์ ควบคู่ไปกับการหาความบันเทิงอย่างเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น